นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธานในเวทีสาธารณะ “ร่างกฎหมายเกม...เส้นทางสู่ความรับผิดชอบของใคร” ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 สำนักงาน กสทช. ที่จัดขึ้นโดย กสทช. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
โอกาสนี้ ผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รอง ผอ. ภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สกสว. กล่าวให้ข้อมูลในฐานะตัวแทนหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนาร่างกฎหมายเกม กล่าวให้ข้อมูลว่า การจัดเวทีเสวนาสาธารณะและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเกมครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักๆ คือ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในร่างกฎหมายการกำกับดูแลเกม และการประกอบกิจการเกมเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อเจตนารมณ์ และสาระสำคัญในร่างกฎหมายการกำกับดูแลเกมฯ ฉบับนี้ เป็นร่างที่ สกสว. ได้ให้ทุนสนับสนุนในการยกร่างกฎหมาย และมาตรการต่างๆ ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการเกมในประเทศไทย เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยเป็นผลงานของคณะนักวิจัย นำโดย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก ได้ดำเนินการวิจัยศึกษาแนวทางของกฎหมายในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ ตลอดจนใช้ศึกษา พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 มาเป็นข้อมูลในการออกแบบและยกร่างเพื่อนำไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการจัดสนทนากลุ่ม หรือ Focus Group จำนวน 3 ครั้ง พร้อมทั้งได้มีการจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public Hearing) อีก 2 ครั้ง จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และเยาวชน โดยมีการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายมาโดยลำดับ ในการนี้ สกสว. ได้เล็งเห็นว่า ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกม ที่มีความประสงค์จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจลักษณะของการประกอบกิจการเกมในประเทศไทยมาก
ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า เกมและ อี - สปอร์ต (E – Sport) ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วในประเทศไทย ในความเป็นจริงคงเป็นไปได้อย่างที่เราจะปิดกั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้อยู่ในกรอบจำกัด แต่เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างพอดี ไม่ตกเป็นทาส ใช้เกมเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของตน เพราะเกมก็ถือว่าเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่สังคมโลกยอมรับ แต่ภาครัฐอาจต้องมีการมอนิเตอร์ใช้งานเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมบนทางออก ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน
ในขณะที่ ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอก หัวหน้าคณะนักวิจัยร่างกฎหมายเกมฯ ได้กล่าวให้ข้อมูล ว่าจากผลงานวิจัยทำให้ได้ร่างกฎหมายที่เป็นข้อสังเคราะห์ว่า ความรับผิดชอบร่วมในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากอี - สปอร์ต เป็นเรื่องของหน่วยงานหลายภาคส่วน หลายกระทรวง ที่เราต้องกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการแข่งขันพัฒนามาตรฐานปกป้องคุ้มครองการใช้สื่อออนไลน์ พัฒนากฎหมายจัดเรทติ้งและกำกับดูแลร้านเกมพัฒนาทรัพยากรและแนวทางที่ตอบสนองต่อกฎหมายและนโยบาย สนับสนุนความรู้ เครื่องมือป้องกันและสำรวจความคิกเห็นของเด็ก รัฐต้องมีนโยบายรัฐช่วยป้องกันเด็กออนไลน์ ขับเคลื่อนหน่วยประสานงานให้ครอบคลุม สนับสนุนความรู้และเครื่องมือป้องกันผลกระทบ กำหนดมาตรฐานการดูแลเด็กในการแข่งขันทุกระดับ
มีกิจกรรมสร้างการเรียนรู้และสร้างความตระหนักสาธารณะ จัดทำข้อมูลและรณรงค์สร้างความตระหนักต่อผลระทบให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน พัฒนาระบบติดตามและรายงานผล พัฒนาเครือข่าวเฝ้าระวัง มีช่องทางแจ้งเหตุร้องเรียนการแข่งขันมีช่องทางแจ้งเหตุร้านเกม มีหน่วยประสานงานและบังคับใช้กฎหมายด้านเกมออนไลน์ มีเครื่องมือช่วยให้อินเทอร์เน็ตมีระบบบริการรักษา ให้คำปรึกษา มีมาตรการห้ามจัดแข่งขันในโรงเรียน กำกับดูแลร้านอินเทอร์เน็ตและเกม พัฒนาเกมให้สร้างสรรค์เป็นโอกาสด้านอาชีพ รวบรวมผู้ประกอบการที่ดี พัฒนาต้นแบบ ร่วมกันกำกับดูแลปกป้องคุ้มครองเด็ก ทั้งนี้ในวงเสวนาวันนี้ได้มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ เกมแคสเตอร์ สตรีมเมอร์ ยูทิวเบอร์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักวิชาการด้านสื่อ มาร่วมให้ความคิดเห็นเพื่อให้ทีมวิจัยนำข้อมูลไปสังเคราะห์ในการปรับปรุงร่างกฎหมายเกมฯ ฉบับนี้ต่อไป
August 27, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/3bcn4WJ
เปิดร่าง 'กฎหมายเกม' ค้นหามาตรการคุมการใช้เกมอี-สปอร์ต - สยามรัฐ
https://ift.tt/3gTzIfw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เปิดร่าง 'กฎหมายเกม' ค้นหามาตรการคุมการใช้เกมอี-สปอร์ต - สยามรัฐ"
Post a Comment